คำกริยาวิเศษณ์ที่ใช้บอกลักษณะ อาการ หรือท่าทาง

Adverbs of manner tell us how something happens. They are usually placed either after the main verb or after the object.

ทดสอบความรู้ของคุณ

คำกริยาวิเศษณ์ที่ใช้บอกลักษณะ อาการ หรือท่าทางบอกให้เราทราบว่าสิ่งนั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร โดยทั่วไปแล้วจะวางไว้หลังคำกริยาหลักหรือหลังกรรม 

ตัวอย่างเช่น
  • He swims well.
  • He ran quickly.
  • She spoke softly.
  • James coughed loudly to attract her attention.
  • He plays the flute beautifully. (after the direct object)
  • He ate the chocolate cake greedily. (after the direct object)

คำกริยาวิเศษณ์ที่ใช้บอกลักษณะ อาการ หรือท่าทางไม่สามารถวางไว้ระหว่างคำกริยาและกรรมตรงได้ ต้องวางไว้ก่อนคำกริยาหรือท้ายอนุประโยคเท่านั้น

ตัวอย่างเช่น
  • He ate greedily the chocolate cake. [ไม่ถูกต้อง]
  • He ate the chocolate cake greedily. [ถูกต้อง]
  • He greedily ate the chocolate cake. [ถูกต้อง]
  • He gave us generously the money. [ไม่ถูกต้อง]
  • He gave us the money generously. [ถูกต้อง]
  • He generously gave us the money. [ถูกต้อง]

หากมีคำบุพบทก่อนหน้าคำกริยาของกรรม คุณสามารถวางคำกริยาวิเศษณ์ที่ใช้บอกลักษณะ อาการ หรือท่าทางไว้ก่อนหน้าคำบุพบทหรือหลังกรรมก็ได้

ตัวอย่างเช่น
  • The child ran happily towards his mother.
  • The child ran towards his mother happily.

คำกริยาวิเศษณ์ที่ใช้บอกลักษณะ อาการ หรือท่าทางควรวางต่อท้ายติดกับคำกริยาที่ไม่มีกรรมมารองรับเสมอ (อกรรมกริยาหรือกริยาที่ไม่ต้องมีกรรมมารองรับ)

ตัวอย่างเช่น
  • The town grew quickly after 1997.
  • He waited patiently for his mother to arrive.

well, badly, hard และ fast คือ คำกริยาวิเศษณ์ที่ใช้บอกลักษณะ อาการ หรือท่าทางที่พบได้บ่อย ส่วนใหญ่แล้วจะถูกวางไว้หลังคำกริยาเสมอ

ตัวอย่างเช่น
  • He swam well despite being tired.
  • The rain fell hard during the storm.

หากในประโยคใด ๆ ก็ตามที่มีคำกริยามากกว่า 1 คำ ตำแหน่งการวางคำกริยาวิเศษณ์ คือ สิ่งที่สำคัญ หากคำกริยาวิเศษณ์ถูกวางไว้ข้างหน้าหรือข้างหลังคำกริยาหลัก คำกริยาวิเศษณ์นั้น ๆ จะทำหน้าที่ขยายคำกริยาเท่านั้น แต่หากคำกริยาวิเศษณ์ถูกวางไว้ท้ายอนุประโยค คำกริยาวิเศษณ์จะทำหน้าที่ขยายการกระทำทั้งหมดที่เกิดขึ้นในอนุประโยคนั้น ๆ โปรดสังเกตความแตกต่างในประโยคต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

ตัวอย่าง ความหมาย
She quickly agreed to re-type the letter. สิ่งที่เกิดขึ้นเร็ว คือ การเห็นด้วย
She agreed quickly to re-type the letter. สิ่งที่เกิดขึ้นเร็ว คือ การเห็นด้วย
She agreed to re-type the letter quickly. สิ่งที่เกิดขึ้นเร็ว คือ การพิมพ์ใหม่อีกครั้ง
He quietly asked me to leave the house. สิ่งที่เกิดขึ้นอย่างเงียบ ๆ คือ การขออนุญาต
He asked me quietly to leave the house. สิ่งที่เกิดขึ้นอย่างเงียบ ๆ คือ การขออนุญาต
He asked me to leave the house quietly. สิ่งที่เกิดขึ้นอย่างเงียบ ๆ คือ การออกจากบ้าน
การใช้ทางวรรณศิลป์

คำกริยาวิเศษณ์ที่ใช้บอกลักษณะ อาการ หรือท่าทางถูกวางไว้ข้างหน้าคำกริยา + กรรมเพื่อเน้นความหมาย

ตัวอย่างเช่น
  • He gently woke the sleeping woman.
  • She angrily slammed the door.

บางครั้งผู้เขียนจะวางคำกริยาวิเศษณ์ที่ใช้บอกลักษณะ อาการ หรือท่าทางไว้ตอนต้นของประโยคเพื่อสร้างความสนใจและทำให้เกิดความสงสัยเพื่อกระตุ้นความรู้สึกทำให้อยากอ่านต่อไป

ตัวอย่างเช่น
  • Slowly she picked up the knife.
  • Roughly he grabbed her arm.

 

ทดสอบความรู้ของคุณ