คำนามประสม

เมื่อเราเอาคำนามต่าง ๆ มารวมกันก็จะได้คำนามประสม ซึ่งเป็นสิ่งที่พบได้เสมอและมีคำประสมใหม่ ๆ เกิดขึ้นเกือบทุกวัน โดยทั่วไปแล้วคำนามประสมจะประกอบด้วย 2 ส่วน ส่วนที่ 1 คือ ส่วนที่บอกเราให้ทราบว่า เป็นใคร หรือเป็นสิ่งใด หรือมีวัตถุประสงค์อะไร ส่วนที่ 2 คือ ส่วนที่ระบุถึงสิ่งของหรือผู้คน คำนามประสมส่วนใหญ่มีความหมายแตกต่างจากคำนามเดิม หรือมีความหมายที่เจาะจงมากขึ้นมากกว่าเมื่อแยกคำนามเหล่านั้นออกจากกัน

ส่วนที่ 1: ประเภทหรือวัตถุประสงค์ ส่วนที่ 2: อะไรหรือใคร คำนามประสม
police man policeman
boy friend boyfriend
fish tank water tank
dining table dining-table

คุณคงจะได้สังเกตแล้วว่า คำนามประสมสามารถเขียนได้หลายรูปแบบ ได้แก่ การเขียนติดกันเป็นคำเดียวกัน การใช้ hyphen (-) คั่นระหว่างคำนาม 2 คำนั้น และการเขียนแยกกันเป็น 2 คำ ซึ่งการที่จะเขียนแบบใดนั้นก็ไม่ได้มีกฏระบุไว้อย่างชัดเจนนัก ที่พบบ่อยที่สุด คือ การเขียนติดกันเป็นคำเดียวกันและการเขียนแยกกันเป็น 2 คำ

องค์ประกอบของคำนามประสมเกิดจากการนำคำประเภทต่าง ๆ มารวมกัน

องค์ประกอบของคำนามประสม ตัวอย่างเช่น
คำนาม + คำนาม bedroom
water tank
motorcycle
printer cartridge
คำนาม + คำกริยา rainfall
haircut
train-spotting
คำนาม + คำกริยาวิเศษณ์ hanger-on
passer-by
คำกริยา + คำนาม washing machine
driving licence
swimming pool
คำกริยา + คำกริยาวิเศษณ์ lookout
take-off
drawback
คำกริยาวิเศษณ์ + คำนาม onlooker
bystander
คำคุณศัพท์ + คำกริยา dry-cleaning
public speaking
คำคุณศัพท์ + คำนาม greenhouse
software
redhead
คำกริยาวิเศษณ์ + คำกริยา output
overthrow
upturn
input
การออกเสียง

การเน้นเสียง คือ สิ่งสำคัญในการออกเสียง เพราะจะช่วยให้เราสามารถแยกแยะได้ว่าคำใดคือคำนามประสม และคำใดคือคำนามที่ถูกขยายด้วยคำคุณศัพท์ สำหรับคำนามประสม โดยทั่วไปแล้วจะเน้นที่พยางค์แรก

ตัวอย่างเช่น
  • a 'greenhouse = place where we grow plants (คำนามประสม)
  • a green 'house = house painted green (คำคุณศัพท์และคำนาม)
  • a 'bluebird = type of bird (คำนามประสม)
  • a blue 'bird = any bird with blue feathers (คำคุณศัพท์และคำนาม)