อนุประโยคที่ขยายคำนาม/คำสรรพนามที่อยู่ข้างหน้าเพื่อให้ความหมายชัดเจนมากขึ้น (defining relative clauses)
จากชื่อคุณก็คงจะพอบอกได้ว่า อนุประโยคที่ขยายคำนาม/คำสรรพนามที่อยู่ข้างหน้าเพื่อให้ความหมายชัดเจนมากขึ้น (defining relative clauses) คือ อนุประโยคที่บอกข้อมูลสำคัญเพื่ออธิบายคนหรือสิ่งของที่เรากำลังพูดถึง เช่น Dogs that like cats are very unusual. ในประโยคนี้ทำให้เราเข้าใจว่า ถึงแม้ว่าจะมีสุนัขหลายตัวในโลกนี้ แต่การใช้อนุประโยคประเภทนี้ในประโยคนี้ทำให้เรารู้ว่า เรากำลังพูดถึงสุนัขเพียงตัวเดียวเท่านั้นที่เหมือนแมว หากเราลบอนุประโยคประเภทนี้ออกไปจากประโยค ไวยากรณ์ของประโยคยังถูกต้องอยู่ แต่ความหมายอาจจะเปลี่ยนไปหรือคลุมเครือมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
อนุประโยคที่ขยายคำนาม/คำสรรพนามที่อยู่ข้างหน้าเพื่อให้ความหมายชัดเจนมากขึ้น (defining relative clauses) ประกอบไปด้วยคำสรรพนามที่ใช้แทนคำนามที่อยู่ข้างหน้า (relative pronoun) ซึ่งในบางกรณีสามารถละได้ คำกริยา และคำอื่น ๆ เช่น ประธานหรือกรรมของกริยา ไม่มีการใช้เครื่องหมาย comma เพื่อแยกอนุประโยคประเภทนี้ออกจากประโยคที่เหลือ ซึ่งแตกต่างจากอนุประโยคที่ใช้เสริมรายละเอียดคำนาม/คำสรรพนามที่อยู่ข้างหน้า (non-defining relative clauses) ที่จำเป็นต้องใช้เครื่องหมาย comma หรือวงเล็บด้วย
ตัวอย่างเช่น
- Children who hate chocolate are uncommon.
- They live in a house whose roof is full of holes.
- An elephant is an animal that lives in hot countries.
- Let's go to a country where the sun always shines.
- The reason why I came here today is not important.
สรรพนามที่ใช้แทนคำนามที่อยู่ข้างหน้า (Relative pronouns)
สรรพนามที่ใช้แทนคำนามที่อยู่ข้างหน้า (Relative pronouns) ต่อไปนี้ คือ คำที่ใช้ในอนุประโยคที่ขยายคำนาม/คำสรรพนามที่อยู่ข้างหน้าเพื่อให้ความหมายชัดเจนมากขึ้น (defining relative clauses) โดยจะปรากฏอยู่ตอนต้นของอนุประโยคประเภทนี้และใช้อ้างถึงคำนามที่ปรากฏอยู่ในประโยคก่อนหน้า
คน | สิ่งของ | สถานที่ | เวลา | เหตุผล | |
---|---|---|---|---|---|
ประธาน | who/that | which/that | |||
กรรม | who/whom/that | which/that | where | when | why |
ความเป็นเจ้าของ | whose | whose |
การแทนที่ด้วย "that" ในภาษาพูด
สรรพนาม who, whom และ which ถูกนำมาใช้แทน that บ่อย ๆ ในภาษาพูด Whom เป็นคำที่เป็นทางการมากและจะใช้ในภาษาเขียนเท่านั้น ดังนั้น ในภาษาพูด คุณสามารถใช้ who หรือ that แทนได้ หรือละไว้ไม่พูดเลยก็ได้ด้วยเช่นกัน จากตัวอย่างด้านล่าง ส่วนที่เน้นเป็นสีดำเข้ม คือ คำที่ใช้พูดในชีวิตประจำวัน ส่วนคำที่เป็นทางการมากกว่า that ซึ่งโดยมากแล้วจะใช้ในภาษาเขียนเท่านั้นจะอยู่ในวงเล็บ
ตัวอย่างเช่น
- The dish that I ordered was delicious. (which)
- The man that came with her has already left. (who)
- The doctor that I was hoping to see wasn't on duty. (whom)
การใช้หรือการละคำสรรพนามที่ใช้แทนคำนามที่อยู่ข้างหน้า (relative pronoun)
มีเพียงกรณีเดียวเท่านั้นที่เราจะละคำสรรพนามที่ใช้แทนคำนามที่อยู่ข้างหน้า (relative pronoun) ได้ คือ หาก relative pronoun เป็น กรรม ในอนุประโยค และหาก relative pronoun เป็น ประธาน ของอนุประโยคจะไม่สามารถละหรือไม่กล่าวถึงได้ โดยทั่วไปแล้ว หาก relative pronoun เป็นกรรมของอนุประโยค มักจะถูกตามด้วยประธานอีกตัวหนึ่ง + คำกริยา ดูได้จากตัวอย่างด้านล่าง ในประโยคแรกจะไม่สามารถละคำ relative pronoun ได้เนื่องจากเป็นประธานของ relative clause ("the woman spoke") ในประโยคที่ 2 สามารถละคำ relative pronoun ได้เนื่องจาก "the woman" เป็นกรรมของคำกริยา "loved"
คำนาม, ประธานของอนุประโยคหลัก | สรรพนามที่ใช้แทนคำนามที่อยู่ข้างหน้า (relative pronoun) | คำกริยา+ ส่วนที่เหลือของ relative clause | คำกริยา+ ส่วนที่เหลือของอนุประโยคหลัก |
---|---|---|---|
The woman | that | spoke at the meeting | was very knowledgeable. |
The woman | (that) | the man loved | was living in New York. |
การใช้ "that" ในรูปแบบอื่น ๆ
'That' มักจะถูกนำมาใช้ต่อท้ายคำว่า something, anything, everything, nothing, all หรือการเปรียบเทียบขั้นสุด เพื่อเริ่มต้นอนุประโยคที่ขยายคำนาม/คำสรรพนามที่อยู่ข้างหน้าเพื่อให้ความหมายชัดเจนมากขึ้น (defining relative clauses) แต่สามารถละได้ หาก that ไม่ใช่ประธานของอนุประโยค
ตัวอย่างเช่น
- There's something (that) you should know.
- It was the best film (that) I've ever seen.
- Do you have anything that will help my throat?
- Everything (that) you say seems silly to me.
- Nothing (that) anyone does can replace my lost bag.
- I'm sorry, but that is all (that) I saw.