คํานามเอกพจน์และคำนามพหูพจน์
คำนามปกติทั่วไป
โดยทั่วไปแล้วคำนามเอกพจน์ส่วนใหญ่สามารถเปลี่ยนรูปให้เป็นพหูพจน์ได้ด้วยการเติม -s
ตัวอย่างเช่น
เอกพจน์ | พหูพจน์ |
---|---|
boat | boats |
house | houses |
cat | cats |
river | rivers |
คำนามเอกพจน์ที่ลงท้ายด้วย s, x, z, ch, sh สามารถเปลี่ยนให้พหูพจน์ได้ด้วยการเติม -es
ตัวอย่างเช่น
เอกพจน์ | พหูพจน์ |
---|---|
bus | buses |
wish | wishes |
pitch | pitches |
box | boxes |
คำนามเอกพจน์ที่ลงท้ายด้วย y และด้านหน้า y เป็นพยัญชนะ สามารถเปลี่ยนให้พหูพจน์ได้ด้วยการตัด y ทิ้งและเติม -ies
ตัวอย่างเช่น
เอกพจน์ | พหูพจน์ |
---|---|
penny | pennies |
spy | spies |
baby | babies |
city | cities |
daisy | daisies |
คำนามพิเศษ
นอกจากคำนามปกติทั่วไปแล้ว ยังมีคำนามอีกกลุ่มที่มีหลักการเปลี่ยนให้เป็นพหูพจน์ที่แตกต่างออกไป ดังนั้น จึงเรียกคำนามกลุ่มนี้ว่า คำนามพิเศษหรือคำนามไม่ปกติ (Irregular noun plurals) ที่พบได้บ่อย ได้แก่
ตัวอย่างเช่น
เอกพจน์ | พหูพจน์ |
---|---|
woman | women |
man | men |
child | children |
tooth | teeth |
foot | feet |
person | people |
leaf | leaves |
mouse | mice |
goose | geese |
half | halves |
knife | knives |
wife | wives |
life | lives |
elf | elves |
loaf | loaves |
potato | potatoes |
tomato | tomatoes |
cactus | cacti |
focus | foci |
fungus | fungi |
nucleus | nuclei |
syllabus | syllabi/syllabuses |
analysis | analyses |
diagnosis | diagnoses |
oasis | oases |
thesis | theses |
crisis | crises |
phenomenon | phenomena |
criterion | criteria |
datum | data |
คำนามบางคำจะไม่มีการเปลี่ยนรูป ดังนั้น ไม่ว่าจะใช้ในรูปเอกพจน์หรือพหูพจน์ก็จะเขียนเหมือนกัน
ตัวอย่างเช่น
เอกพจน์ | พหูพจน์ |
---|---|
sheep | sheep |
fish | fish |
deer | deer |
species | species |
aircraft | aircraft |
กฏการใช้ Irregular verb/noun
คำนามพหูพจน์บางคำใช้คู่กับกิริยาที่เป็นเอกพจน์
คำนามพหูพจน์ที่ใช้คู่กับคำกิริยาที่เป็นเอกพจน์ | ประโยค |
---|---|
news | The news is at 6.30 p.m. |
athletics | Athletics is good for young people. |
linguistics | Linguistics is the study of language. |
darts | Darts is a popular game in England. |
billiards | Billiards is played all over the world. |
คำนามบางคำจะอยู่ในรูปพหูพจน์เสมอและใช้คู่กับกิริยาที่เป็นพหูพจน์ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วคำนามลักษณะนี้จะไม่ถูกนำมาใช้ในรูปของเอกพจน์ หรือหากมีการนำมาใช้ในรูปเอกพจน์ ก็จะมีความหมายแตกต่างจากความหมายที่ใช้เมื่ออยู่ในรูปพหูพจน์ คำนามที่กล่าวถึงเหล่านี้ได้แก่ trousers, jeans, glasses, savings, thanks, steps, stairs, customs, congratulations, tropics, wages, spectacles, outskirts, goods, wits
คำนามพหูพจน์ที่ใช้คู่กับคำกิริยาที่เป็นพหูพจน์ | ประโยค |
---|---|
trousers | My trousers are too tight. |
jeans | Her jeans are black. |
glasses | Those glasses are his. |